เรื่อง AI
เมื่อกล่าวถึง AI (ย่อมาจากคำว่า Artificial Intelligence แปลเป็นไทยก็คือ ปัญญาประดิษฐ์) แล้วคนส่วนใหญ่จะนึกถึง หุ่นยนต์ ที่มีรูปร่างคล้ายกับมนุษย์ ที่คอยมาช่วยเหลือมนุษย์ในการทำงานต่าง ๆ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ AI ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบหุ้นยนต์ที่เราพบเห็นได้ในภาพยนตร์นั้นเอง แต่แท้ที่จริงแล้ว AI นั้นมันเป็นอยู่ในอุปกรณ์หลากหลายรูปแบบ เช่น หุ่นยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล หรือปัจจุบันมาอยู่ในสมาทร์โฟน ที่เราใช้กันอยู่แทบทุกคน
เพื่อให้เข้าใจ AI มากยิ่งขึ้น ขอกล่าวถึง นิยามของ AI ซึ่งหมายถึง การที่มนุษย์พยายามที่จะทำให้เครื่องจักรกล หรืออุปกรณ์ใด ๆ สามารถที่จะทำเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1. คิดอย่างมีเหตุมีผล เช่น ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถที่จะค้นหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการเดินทางไปจุดหมายที่ต้องการ โดยการนำแนวหลักการที่มนุษย์กำหนดไว้เป็นข้อมูลในการให้คำตอบ
2. ทำอย่างมีเหตุมีผล เช่น ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถตัดสินใจได้ว่า ส่วนประกอบต่าง ๆ เหล่านั้นจะทำให้เกิดผลลัพธ์อย่างไร โดยการให้คอมพิวเตอร์ใช้หลักการที่กำหนดไว้ และนำหลักการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้
3. คิดเหมือนที่มนุษย์คิด เป็นการให้คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้ใหม่ ๆ ได้เอง โดยอาจะมีข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ได้เรียนรู้ และทดสอบ จากนั้นจึงนำข้อมูลใหม่ ๆ ไปให้คอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์จากความรู้ที่ได้
4. ทำเหมือนที่มนุษย์ทำ เป็นการให้คอมพิวเตอร์สามารถตัดสินใจ และกระทำการใด ๆ ด้วยตัวเองจากการประมวลความรู้ เช่น ระบบขับรถยนต์อัตโนมัติ
วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่มนุษย์พยายามสร้าง AI ก็เพื่อที่จะให้เครื่องจักร หรือคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานบางอย่างแทนมนุษย์ หรือช่วยเหลือมนุษย์ ในการทำงานบางอย่าง เนื่องจาก AI สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่ต้องพักได้
ดร. สุรพรรษ์ เพ็ญจำรัส
อังคารที่ 8 พฤษภาคม 2561
“ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง เพื่อการพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด ในกรณีต้องการอ้างอิงเพื่อการศึกษา กรุณาให้เครดิตโดยอ้างอิงถึงผู้เรียบเรียงและบริษัทเจ้าของเว็บไซด์ด้วย”